วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557

การให้บริการวิชาการของศูนย์ฯ

กิจกรรมการฝึกอบรม สาธิตและถ่ายทอดโนโลยีด้านไหมอีรี่

โครงการฯ ได้ดำเนินงานด้านการฝึกอบรม สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านไหมอีรี่ ดังนี้:
1.   การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การต้มลอกกาวและปั่นเส้นไหมอีรี่”
       ในวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2553 ได้ทำการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนจำนวน 18 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ในการอบรมครั้งนี้ประกอบด้วยการบรรยายกระบวนการเลี้ยงไหมอีรี่ การผลิตเส้นด้ายไหมอีรี่ด้วยการปั่นเส้นโดยใช้เครื่องปั่นด้าย MC ขั้นตอนการต้มลอกกาวและปั่นเส้นไหมอีรี่ รวมทั้งแนะนำส่วนประกอบ วิธีการใช้ และการบำรุงรักษาเครื่อง MC พร้อมทั้งสาธิตและฝึกปฏิบัติการปั่นเส้นไหมอีรี่ด้วยเครื่อง MC

 





















2. การสาธิตการดึงเส้นออกจากรังไหมอีรี่ด้วยวิธีการสาว พาเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงไหมอีรี่และผู้ผลิตเส้นจากจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ดูการดึงเส้นใยไหมอีรี่ออกจากรังด้วยการสาวด้วยเครื่องจักรขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผลงานของโครงการวิจัย การสร้างและพัฒนาเครื่องจักรเพื่อการผลิตเส้นไหมอีรี่โดยมีคุณศุภชัย กมลทิพย์ เป็นหัวหน้าโครงการ ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และดูการดึงเส้นใยไหมอีรี่จากรังด้วยการสาวด้วยเครื่องสาวพื้นบ้าน ที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
                       










 
















3. วันที่ 8-9 ธันวาคม 2554  ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การต้มลอกกาวและปั่นเส้นไหมอีรี่”ที่โรงเรียนเจดีย์หลวงพิทยา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2 เข้าอบรม 100 คน ในการฝึกอบรมมีการบรรยายเรื่องการเลี้ยงไหมอีรี่และการผลิตเส้นด้ายไหมอีรี่ และการฝึกปฏิบัติเรื่องการต้มลอกกาวไหมอีรี่ การปั่นเส้นไหมอีรี่โดยใช้เครื่องปั่นด้าย MC แนะนำส่วนประกอบและวิธีการใช้/การบำรุงรักษา MC สาธิตการเหยียบ ฝึกปฏิบัติปั่นเส้นไหมอีรี่ด้วย MC
4. วันที่ 22 ธันวาคม 2554  ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การต้มลอกกาวและปั่นเส้นไหมอีรี่”ณ โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีนักเรียนเข้าร่วมอบรม 14 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทำการฝึกอบรมเช่นเดียวกับที่โรงเรียนเจดีย์หลวงพิทยา อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

 





















5. วันที่ 25-27 ธันวาคม 2554 อาจารย์นิตยา มหาไชยวงศ์ ผู้วิจัยและคุณนิทัศน์ จันทร เกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงไหมอีรี่ บ้านทัพคล้าย ได้รับเชิญจาก Institute of Environment Rehabilitation and Conservation (ERECON Headguarter) ประเทศญี่ปุ่น ให้ไปฝึกอบรมการต้มลอกกาวและปั่นเส้นไหมอีรี่ ให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจำนวน 6 คน ที่บ้าน Wat Chas และ Roung Kor อำเภอเพรย์ชอร์ จังหวัดกำปงจาม ประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สถาบันฯ ดังกล่าวได้ส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม และเลี้ยงไหมอีรี่เพื่อเสริมรายได้ ผู้วิจัยได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดกระบวนการต้มลอกการังไหม แนะนำวิธีการยีฟูรังไหมและปั่นเส้นไหมอีรี่ การดูแลรักษาเครื่องปั่นเส้นด้าย MCและการใช้เครื่องอย่างถูกวิธี พร้อมกับให้ผู้เข้าอบรมฝึกปั่นเส้นไหมอีรี่ ซึ่งพบว่าเกษตรกรชาวกัมพูชาทั้ง 5 คนมีทักษะดีและจะสามารถปั่นเส้นได้ดีถ้าได้ฝึกปฏิบัติมากขึ้น
นอกจากการปั่นเส้นไหมอีรี่แล้วทางกลุ่มยังสนใจเรื่องการย้อมสีธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเป็นความร่วมมือกันต่อไป หลังจากที่ทางกลุ่มมีความสามารถทำการปั่นเส้นไหมอีรี่ได้ดีแล้ว
    
 


















6.    วันที่ 25 เมษายน 2555  ร่วมจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การถนอมอาหารดักแด้ไหมอีรี่โดยมี ดร. สิริชัย ส่งเสริมพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการบรรยายและฝึกปฏิบัติการแปรรูปไหมอีรี่เป็นผลิตภัณฑ์ดักแด้ไหมอบแห้งบรรจุถุงอลูมินัมฟอยล์ ดักแด้ไหมอีรี่ทอดอบกรอบบรรจุอลูมินัมฟอยล์ และดักแด้ไหมอีรี่ผ่านเครื่องสเตอริไลส์บรรจุกระป๋องพร้อมบริโภค ซึ่งจะเก็บรักษาได้นานอย่างน้อย 1 ปี

 
























                 
7.               
7. ในวันที่ 10 -11 มกราคม 2556 ฝึกอบรมเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงไหมอีรี่ จังหวัดอุทัยธานี เรื่อง “เทคนิคการรีดปรับแต่งผืนผ้าให้สามารถแข่งขันในตลาดได้” โดยมีวิทยากร คือ คุณสุเมธ นวเศรษฐวิสูตร จากกลุ่มผ้าไหมไทยเทพารักษ์ เลขที่ 188/2 ซอยวัดบางนาในเขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 และ ผศ. อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยากรได้แนะนำวิธีการรีดผ้าไหมอีรี่ ผ้าไหมหม่อน และผ้าฝ้าย ให้กับเกษตรกรเครือข่ายในจังหวัดอุทัยธานี โดยกล่าวว่าเทคนิคการรีดผ้าให้เรียบควรฉีดพ่นน้ำยาปรับเส้นใย หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือแม้กระทั้งน้ำเปล่าให้ทั่วทั้งผืนผ้าท เมื่อฉีดน้ำยาทั่วแล้วให้ม้วนผ้าและใส่ถุงพลาสติกทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อให้น้ำยาซึมเข้าเนื้อผ้าก่อน จากนั้นจึงนำมารีดทั้งสองด้าน รีดจนเนื้อผ้าแห้งสนิทดี โดยตรวจสอบได้จากการจับเนื้อผ้าดูว่าบริเวณใดที่ยังเย็นๆ อยู่ ให้รีดซ้ำจนกว่าจะแห้งดีทั้งผืน และที่สำคัญคือก่อนนำผ้ามารีดนั้นควรจะซักทำความสะอาดผ้าก่อนโดยใช้น้ำยาล้างจาน จะทำความสะอาดได้ดีกว่าการใช้ผงซักฟอก เนื่องจากน้ำยาล้างจานมีประสิทธิภาพการทำความสะอาดมากกว่าผงซักฟอก
มีการสาธิตวิธีการรีดผ้า โดยได้เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ คือ 1. เตารีด 2. น้ำเปล่า (ใช้ผสมกับน้ำยาปรับเนื้อผ้า) 3. น้ำยาปรับเนื้อผ้า 4. กระบอกฉีดน้ำ 5. โต๊ะรองรีดพร้อมผ้ารอง และมีขั้นตอนการรีดผ้าไหมดังนี้: ขั้นตอนแรกทำการซักผ้าให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน ตากในที่ร่มจนแห้ง จากนั้นนำมาฉีดพ่นด้วยน้ำยาปรับเนื้อผ้า ผสมน้ำยาปรับเนื้อผ้ากับน้ำเปล่าในอัตรา 1:2 ใช้ขวดน้ำพลาสติกเป็นตัวเทียบอัตราส่วน หลังจากนั้นเทน้ำยาที่ผสมแล้วลงในกระบอกฉีด ฉีดลงบนผืนผ้าโดยทั่ว แล้วม้วนผ้านำไปใส่ในถุงพลาสติกวางทิ้งไว้ 30 นาที หลังจากนั้นจึงนำผ้าออกมารีดตามปกติ รีดทั้งสองด้านจนกว่าผ้าจะแห้งสนิททั้งผืน                                                                                                       
  หลังจากการสาธิตแล้ว เกษตรกรได้ลงมือทำด้วยตัวเองโดยให้แต่ละกลุ่มนำผ้าที่ซักทำความสะอาดมาแล้ว นำมารีดและกลับไปซักใหม่ เพื่อทดสอบดูว่าเนื้อผ้าจะหดอีกหรือไม่ โดยมีวิทยากรคอยให้คำแนะนำ มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ในครั้งนี้จำนวน 14 คน ได้แก่
1. คุณคะนอง เพ็งอุ่น          เลขที่ 20 ม.14 ต.ทัพคล้าย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
2. คุณทองคล้าย เพ็งอุ่น      เลขที่ 149 ม.2 ต.ทัพคล้าย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
3. คุณถาวร เพ็งอุ่น             เลขที่ 90 ม.2 ต.ทัพคล้าย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
4. คุณบรรจบ ปัญโญ          เลขที่ 183 ม.14 ต.ทัพคล้าย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
5. คุณทองจันทร์ ศรีโพธิ์      เลขที่ 18 ม.4 ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
6. คุณยุพิน ปรากิม             เลขที่ 39 .14 ต.ทัพคล้าย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
7. คุณประเทือง ใจมั่น         เลขที่ 27 ม.7 ต.ห้วยแห้ง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
8. คุณกัญญา เพ็งอุ่น          เลขที่ 237 ม.6 ต.ทัพคล้าย อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
9. คุณสุรีย์พร พันธุ์วงศ์       เลขที่ 216/2 ม.2 ต.องค์พระ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
10. คุณสมบัติ ยอดสง่า      เลขที่ 55 ม.1 ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
11. คุณนิทัศน์ จันทร          เลขที่ 128 ม.8 ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
12. นางขวัญเรือน จำปีขาว เลขที่ 48 ม.2 ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
13. ผศ. อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์   ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม
                                         มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
14. น.ส. พรพนา เอี่ยมทิพย์   ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม
                                                              มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

 






















               8. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556  จัดฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเครือข่ายใหม่ๆ และบุคคลทั่วไปที่สนใจเลี้ยงไหมอีรี่เป็นอาชีพทางเลือก ณ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน และที่ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยมีการบรรยายแนะนำไหมอีรี่ให้รู้จักในเบื้องต้น และบรรยายการเลี้ยงไหมอีรี่ที่ถูกวิธี พร้อมดูงานการเลี้ยงที่ห้องปฏิบัติการเลี้ยงไหมอีรี่ และชมห้องนิทรรศการผลิตภัณฑ์จากไหมใน อาคารการเรียนรู้วิทยาการด้านไหม
9. วันที่ 21 มีนาคม 2556 จัดฝึกอบรมให้ผู้สนใจที่ติดต่อเข้ามาที่ศูนย์ไหมฯ เนื่อจากได้รับทราบโปรแกรมการฝึกอบรมตามสื่อต่างๆ ซึ่งมีทั้งเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง บุคคลที่มีธุรกิจอื่นๆ อยู่ แต่สนใจมาเรียนรู้ เนื่อจากมีพื้นที่ที่ปลูกมันสำปะหลัง รวมทั้งแม่บ้านทั่วไป โดยส่วนมากคาดว่าจะสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ มีการบรรยายและดูงานการเลี้ยงไหมอีรี่ และชมห้องนิทรรศการผลิตภัณฑ์จากไหมใน อาคารการเรียนรู้วิทยาการด้านไหม ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
10. วันที่ 30 เมษายน 2556 จัดฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และผู้สนใจเลี้ยงไหมอีรี่เป็นอาชีพทางเลือก ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กำแพงแสน โดยมีการบรรยายแนะนำไหมอีรี่ให้รู้จักในเบื้องต้น และบรรยายการเลี้ยงไหมอีรี่ที่ถูกวิธี พร้อมดูงานการเลี้ยงที่ห้องปฏิบัติการเลี้ยงไหมอีรี่และชมห้องนิทรรศการผลิตภัณฑ์จากไหมใน อาคารการเรียนรู้วิทยาการด้านไหม  
11. ที่ 30 พฤษภาคม 2556 จัดฝึกอบรมแม่บ้านเกษตรกรที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอกำแพงและมีความสนใจอยากเลี้ยงไหมอีรี่ โดยวิทยาเขตกำแพงแสนอาจให้การสนับสนุนมาช่วยเลี้ยงไหมอีรี่ในมหาวิทยาลัย เพื่อการหารายได้เสริม ตามนโยบายโครงการช่วยเหลือแม่บ้านและเด็กด้อยโอกาศโดยรอบวิทยาเขต การฝึกอบรมประกอบด้วยการบรรยาย การสาธิตและดูงานการเลี้ยงไหมอีรี่ ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
12. ในวันที่ 13 มิถุนายน 2556  จัดฝึกอบรมเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และบุคคลที่สนใจเลี้ยงไหมอีรี่เป็นอาชีพทางเลือก ซึ่งได้ทำเรื่องเข้ามาเพื่อขอรับการฝึกอบรม และมีความพร้อมในการเตรียมปลูกพืชอาหาร คือใบมันสำปะหลัง โดยทำการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องไหมอีรี่ การเลี้ยงและแนวทางการใช้ประโยชน์  มีการสาธิตและดูงานการเลี้ยงไหมอีรี่ และชมห้องนิทรรศการผลิตภัณฑ์จากไหมใน อาคารการเรียนรู้วิทยาการด้านไหม ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน



 





























วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2013 International Textiles and Costume Congrees — ที่ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์












เมื่อวันที่ 28 - 29 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการและ มีการจัดแฟชั่นโชว์ โดย ดร. อโนทัย ชลชาติภิณโญ เป็นผู้จัด
ในงาน 2013 International Textiles and Costume Congrees

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555








ผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรมจากไหมอีรี่ของเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงไหมอีรี่ในจังหวัดต่างๆ

ตามที่ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โครงการเครือข่ายความร่วมมือ มก. สกว. งานวิจัยและพัฒนาด้านไหมอีรี่ จะจัดประชุมเครือข่ายผู้เลี้ยงไหมอีรี่ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานพัฒนาไหมอีรี่สู่อุตสาหกรรม และดูงานด้านการเลี้ยงไหมอีรี่และการฝึกปฏิบัติในระหว่างวันที่ 15 -17 ตุลาคม 2555 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ไหมอีรี่








ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 
 
ร่วมจัดแสดง ไหมอีรี่ ในงาน มหกรรมงานวิชาการ สกว. ประจำปี 2555 

ณ เมืองทองธานี

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

นอกจากไหมหม่อนแล้วยังมีไหมป่า


ไหมเป็นเส้นใยธรรมชาติ ผลิตจากรังที่ห่อหุ้มดักแด้ของหนอนไหม เส้นใยไหมมีความมันแวววาว โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่น ชาวจีนรู้จักเลี้ยงไหมมานานกว่า 4000 ปีแล้ว เพื่อเอาเส้นใยมาทำเครื่องนุ่งห่ม โดยถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าของแผ่นดิน สำหรับประเทศไทยมีการเลี้ยงไหมและทอผ้าใช้กันเองในครอบครัวมานานหลายร้อยปี แต่การพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมเริ่มเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นอกจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียแล้ว ชาวยุโรปก็รู้จักการเลี้ยงไหมมานานแล้วเช่นกัน และในเวลานั้นไหมถือเป็นผ้าพิเศษที่ทอขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ พระราชินีและขุนนางชั้นสูงเท่านั้น ผ้าไหมเป็นสิ่งที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ ที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษถึงลูกหลานที่แต่ละชาติมีความภาคภูมิใจ ผ้าไหมไทย จีน อินเดีย ญี่ปุ่นและประเทศทางยุโรป จะมีความแตกต่างกันทั้งเนื้อผ้า ลวดลายปักบนผ้าและศิลปะการถักทอ ซึ่งทำให้ได้ผ้าที่มีคุณลักษณะต่างๆ กันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ผ้าไหมที่สวยงามและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงเป็นที่รู้จักกันดีนั้น ส่วนมากมาจากไหมหม่อน (mulberry silkworm, Bombyx mori) ซึ่งกินใบหม่อนเป็นอาหารและมีประวัติการเลี้ยงมายาวนานจนกลายเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างสมบูรณ์  ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติ



                นอกจากไหมหม่อนแล้วยังมีไหมป่าที่ให้เส้นใยใช้ทำเครื่องนุ่งห่มได้อีกถึง 8 ชนิด ได้แก่  Antheraea pernyi, A. yamamai, A. proylei, A. assamensis, A. mylitta, A. paphia, Philosamia ricini  และ P. cynthia แต่มีเพียง 3 ชนิดคือ ไหมทาซาร์ (tasar silkworm, Antheraea mylitta และ A. proylei)  ไหมมูก้า (muga silkworm,  Antheraea assama)  และไหมอีรี่ (eri silkworm,  Philosamia ricini)  ที่มีการเลี้ยงเป็นอาชีพในประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลี  ไหมอีรี่เป็นไหมป่าเพียงชนิดเดียวที่มนุษย์สามารถนำมาเลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์ครบวงจรชีวิต ส่วนไหมมูก้าและไหมทาซาร์นั้น ในช่วงผสมพันธุ์ต้องเอามาปล่อยไว้ในธรรมชาติบนต้นพืชอาหาร มิฉะนั้นผีเสื้อจะไม่ยอมผสมพันธุ์ ประเทศอินเดียและจีนมีการเลี้ยงไหมอีรี่กันมาก เพื่อใช้ทอเป็นผืนผ้าใช้ในครอบครัว ในชุมชนหรือส่งเข้าอุตสาหกรรมไหมปั่นภายในประเทศ



                ไหมอีรี่ (Eri silkworm, Philosamia ricini) คำว่า eri เป็นภาษาสันสกฤตมาจากคำว่า eranda แปลว่า ต้นละหุ่ง ซึ่งเป็นพืชอาหารหลักในการใช้เลี้ยงหนอนไหมอีรี่ ไหมอีรี่จัดเป็นแมลงเศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ อาทิ ประเทศอินเดีย จีน และญี่ปุ่น เนื่องจากเส้นใยไหมอีรี่เหนี่ยวนุ่มเป็นเงามัน ซักรีดง่ายคงทน และมีความสวยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดูดซับเหงื่อและระบายอากาศได้ดี เมื่อสวมใส่แล้วให้ความอบอุ่น ไม่มีกลิ่นเหมือนผ้าที่ทอจากใยสังเคราะห์ ดังนั้นผลผลิตจากไหมอีรี่จึ่งมีราคาสูง และยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกมาก



ไหมอีรี่นี้เริ่มมีการนำมาเลี้ยงที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดียในศตวรรษที่ 17 เดิมเรียกว่า Assam silk แต่ชาวอังกฤษเรียกว่า PALMA CHRISTI silk  ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการเพาะเลี้ยงไหมอีรี่สำเร็จเป็นครั้งแรกโดย Wongtong et al. (1980) ที่ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ และทิพย์วดีและคณะ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2535 รายงานว่า ไหมอีรี่เมื่อเลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลังสามารถเจริญเติบโตได้ดีทัดเทียมกับที่เลี้ยงด้วยใบละหุ่งซึ่งเป็นพืชอาหารหลัก และใบมันสำปะหลังถ้าถูกเด็ดไปเลี้ยงไหมอีรี่ไม่เกิน 50% จะไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต และถ้าถูกเด็ดไปเพียง 30% กลับทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังสูงขึ้น



ด้วยเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยส่วนใหญ่ปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพหลัก จึงได้นำไหมอีรี่มาทำการเพาะเลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลังในท้องที่จังหวัดขอนแก่นและนครราชสีมา ตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปัจจุบันพบว่า ไหมอีรี่สามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่อเลี้ยงด้วยมันสำปะหลังเป็นพืชอาหาร โดยทั่วไปชาวชนบททางภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเลี้ยงไหมเป็นอาชีพเสริม โดยเฉพาะที่จังหวัดขอนแก่นจะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมกันแทบทุกหมู่บ้าน จึงมีความชำนาญการเลี้ยงโดยไม่ต้องมาทำการเรียนรู้ใหม่ สามารถนำไหมอีรี่ไปเลี้ยง และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ของไหมบ้านได้เลยโดยไม่ต้องลงทุนเรื่องอุปกรณ์ใดๆ เพิ่มเติม จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบเป็นอาชีพเสริมที่ดี